วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้

      ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์  (2548: 29) ได้กล่าวถึง การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้น การเรียนรู้ไม่เพียงแต่การจัดกิจกรรมในโรงเรียนหรือสถานศึกษา แต่เกิดขึ้นได้ทุกสภาพและทุกขณะ ตั้งแต่ลืมตาดูโลก เราก็เริ่มเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัว เริ่มจากสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว บ้านในครอบครัวก่อนอื่น โดยเด็กเล็กจะเริ่มรู้ว่า การร้องนั้นสามารถเรียกอาหาร นม และความเอาใจใส่จากแม่ได้ เมื่อเวลาผ่านไปเด็กจะเจริญเติบโตขึ้น มีวุฒิภาวะที่จะทำกิจกรรมต่างๆ  ตามความสามารถของตน

       พงษ์พันธ์  พงษ์โสภา (2542: 77) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต ช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้ ดังนั้น คนเราจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้เอง นักจิตวิทยา ครู อาจารย์ ตลอดถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงของการศึกษา จึงให้ความสนใจเรื่องของการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะชีวิตความเป็นอยู่ และการประพฤติปฏิบัติของคนเราจะเป็นไปในรูปแบบใด ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้เป็นสำคัญ

      http://www.scribd.com/doc/62888506   ได้รวบรวม ความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ดังนี้  
   Richard  R. Bootsin  กล่าวว่า
1) การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
2) มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
3) ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน  No one old to learn
4) การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

สรุป
      ความสำคัญของการเรียนรู้ คือ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน และเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งการเรียนรู้เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงตาย คนเราจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  เพื่อช่วยในการพัฒนาคุณภาพของชีวิตให้ดีขึ้น

ที่มา

   ปรียาพร   วงศ์อนุตรโรจน์ . (2548). จิตรวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
   พงษ์พันธ์    พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาการศึกษาEducational  Psychology. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
   http://www.scribd.com/doc/62888506 . การเรียนรู้ Learning.  เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2558.

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

                                                   
    ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) (http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html) ได้กล่าวถึง "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "

    คิมเบิล (Gregory A Kimble)  (http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Process.htm) ได้กล่าวถึง "การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพแห่งพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกหรือการปฏิบัติที่ได้รับ การเสริมแรง (Learning as a relatively permanent change in behavioral potentiality that occurs as a result of reinforced practice) "

    http://www.vcharkarn.com/lesson/1625. ได้รวบรวม การเรียนรู้ (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ

สรุป
   
   การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ ประสบการณ์ต่างๆของแต่ละ
บุลคล


ที่มา

  ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981).[Online] http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.htmlความหมายของการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 17/06/2558.
   คิมเบิล (Gregory A Kimble). [Online]  http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Process.htmความหมายของการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 17/06/2558.
   http://www.vcharkarn.com/lesson/1625. ความหมายของการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 17/06/2558.